การโยนช่อดอกไม้แต่งงานของเจ้าสาวเป็นธรรมเนียมที่พบได้ในหลายวัฒนธรรมและประเพณีของการแต่งงานทั่วโลก มีความหมายและความเชื่อที่แตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ถ้าตามวัฒนธรรมทางฝั่งเหนือ ใต้ หรืออีสานบ้านเรา จะไม่มีเรื่องของการโยนดอกไม้ ส่วนใหญ่จะเป็นการขอขมา พ่อแม่ ที่เลี้ยงดูเรามามากกว่า กลับกันในภาคกลาง ช่อดอกไม้ที่ถูกโยนในวันแต่งงานมีความหมายเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีและความสุขในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของคู่รักที่แต่งงานกัน นั้นเอง
การโยนช่อดอกไม้ ถือว่าเป็น สัญลักษณ์ของความโชคดีและความรัก
การโยนช่อดอกไม้แต่งงานของเจ้าสาวถือเป็นการส่งความโชคดีและความรักให้กับผู้ที่จับช่อดอกไม้นั้นได้ มีความเชื่อว่าคนที่จับช่อดอกไม้จะได้รับโชคลาภและความรักในชีวิตของตัวเอง ส่วนใหญ่ถ้าเป็นบ้านเรา คนที่ได้รับช่อดอกไม้นั้นมีโอกาศที่จะได้แต่งงานต่อเจ้าสาวคนปัจจุบันนั้นเอง เชื่อว่าเป็นการส่งต่อความสุขให้ถึงมือคนโสด ซึ่งความหมายของการโบยช่อดอกไม้ในปัจจุบันแตกต่างกับเมื่อก่อนอย่างสิ้นเชิง
เมื่อก่อน ดอกไม้ในงานแต่ง ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขับไล่ปีศาจ หรือวิญญาณร้าย ช่วงนั้นมีความเชื่อเกี่ยวกับการแต่งงาน เรื่องของปีศาจแฝงที่จะเข้ามาทำลายความสุขของคู่บ่าวสาวเยอะมาก ช่อดอกไม้ที่ถือเลยเป็นพวกของฉุนๆ อย่างกระเทียมหรือสมุนไพรที่กลิ่นแรงๆ เป็นหลัก แต่หลังจากผ่านมาไม่นาน ช่อดอกไม้ก็ยังไม่ได้เป็นที่นิยมในช่วงนั้น แต่เป็นการริเริ่มการหากิจกรรมใหม่ๆเข้ามาในพิธีแต่งงาน อย่าง
ในช่วง คศ 14 ได้เปลี่ยนการถือช่อสมุนไพรมาเป็น การโยนชุดเจ้าสาว เพราะว่ามีความเชื่อที่ว่าชุดเจ้าสาวจะสามารถนำพาคนรักมาให้ได้ ในพิธีเลยมีสาวโสดเข้ามาแย่งฉีกชุดเจ้าสาวกันเพียบ จนทำให้พิธีเกิดความวุ่นวาย ไม่นานชุดเจ้าสาวก็มีราคาที่สูงขึ้น เลยได้รับความนิยมเก็บไว้ให้ลูกสาวแบบรุ่นต่อรุ่นแทน ไม่นานการโยนชุดเจ้าสาวก็จบลง และเปลี่ยนมาเป็นการโยน “สายรัดถุงน่องแทน” เพราะว่าเปรียบเสมือนความบริสุทธิของหญิงสาว แต่ไม่นานก็ถูกยกเลิกไปซึ่งปัจญหาก็มีหลากหลายเรื่องด้สวยกัน แล้วเปลี่ยนมาใช่ช่อดอกไม้ในงานแต่งจนถึงปัจจุบันนี้แทน และนี่คือเรื่องราวที่หลายคนสงสัยไหมว่าทำไมเจ้าสาวต้องโยนช่อดอกไม้